การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่

โรงเรีนอนุบาลคริสเตียนมารีย์พร จัดการเรียนการสอนตามแนวทางการสอนแบบมอนเตสซอรี่บนพื้นฐานพระคัมภีร์ เน้นให้เด็กเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติงานจริง ครูเป็นผู้สร้างบรรยากาศ สภาพแว้ดล้อม และเป็นผู้กระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้ ครูเป็นผู้คอยหนุนใจและให้คำปรึกษาแก่เด็ก นอกจากนั้นแล้วโรงเรียนอนุบาลคริสเตียนมารีย์พรยังให้ความสำคัญที่พ่อแม่ผู้ปกครองของนักเรียนจะมีส่วนร่วมในการพัฒนานักเรียนร่วมกับครู ทางโรงเรียนจะมีการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองของนักเรียนทุกวันช่วงที่ผู้ปกครองมารับมาส่งนักเรียน ครูจะรายงานพฤติกรรมและความเคลื่อนไหวในชั้นเรียนให้ผู้ปกครองทราบทุกสัปดาห์ โรงเรียนอนุบาลคริสเตียนมารีย์พรไม่เพียงแต่พัฒนาด้านสติปัญญาและความรอบรู้ของนักเรียนเท่านั้น เราเน้นความสำคัญของการสร้างคุณธรรมจริยธรรมและบุคลิกภาพของนักเรียนทุกคนด้วย เพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม

บุคลิกภาพ 12 ประการที่บุตรหลานของท่านจะถูกสร้างเมื่อมาอยู่ที่โรงเรียนอนุบาลคริสเตียนมารีย์พร

  • เคารพยำเกรงผู้ใหญ่
  • มีความเชื่อฟัง
  • รู้จักการขอบคุณ
  • รู้จักควบคุมตัวเอง
  • มีความมั่นใจในตนเอง
  • มีความซื่อสัตย์
  • เป็นมิตรกับผู้อื่น
  • เต็มใจให้ความช่วยเหลือผู้อื่น
  • มีความรัก ความเมตตา
  • มีความขยัน
  • มีความเป็นระเบียบ
  • มีความคิดริเริ่ม

มอนเตสซอรี่คืออะไร

I. การศึกษามอนเตสซอรี่(Montessori Education)

การศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ คิดค้นขึ้นโดย พญ.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ชาวอิตาเลี่ยน โดยเริ่มแรกนั้นพญ.มาเรีย มอนเตสซอรี่ได้ออกแบบและคิดค้นวิธีการและสื่อการเรียนเพื่อช่วยเด็กที่มีความผิดปกติทางร่างกายและสมอง รวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษอื่นๆ ซึ่งคนส่วนใหญ่คิดว่าไม่สามารถเรียนรู้อะไรได้แล้ว ให้กลับมาเรียนรู้จนสามารถสอบผ่านได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป จากนั้นจึงนำวิธีการนี้มาใช้กับเด็กปกติ ซึ่งได้ผลดีอย่างมากเช่นกัน

มอนเตสซอรี่เชื่อว่า การที่จะช่วยให้มนุษย์มีความสุขทั้งกายและใจ อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข มีความเมตตากรุณาต่อกันนั้น จำเป็นต้องเริ่มต้นที่การศึกษา ดังนั้นจุดหมายสูงสุดของการศึกษามอนเตสซอรี่คือการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขของมนุษย์ทุกคนบนโลกหรือสันติภาพของโลกนั่นเอง

นับถึงปัจจุบันการศึกษามอนเตสซอรี่มีอายุถึง 100 ปีแล้ว โรงเรียนที่ใช้การศึกษาแบบมอนเตสซอรี่นั้นมีแพร่หลายอยู่ทั่วโลก ทั้งนี้เพราะมอนเตสซอรี่เป็นการศึกษาที่ใช้หลักการและวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เด็กได้มีพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพอย่างแท้จริง และในปัจจุบันนี้ยังได้มีผลงานวิจัยด้านการเรียนรู้ต่างๆ ที่เป็นหลักฐานสนับสนุนมอนเตสซอรี่ได้เป็นอย่างดีอีกเช่นกัน

II. หลักการและแนวคิดที่ใช้ในการจัดการศึกษามอนเตสซอรี่

การจัดการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่เชื่อว่าเด็กแต่ละคนมีจิตซึมซับ(Absorbent Mind)และมีช่วงวิกฤต(Sensitive Period)โดยเด็กจะสามารถซึมซับสิ่งต่างๆรอบตัวได้อย่างง่ายดาย และเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นหน้าที่ของผู้ใหญ่จึงควรสังเกตเด็กและศึกษาสิ่งที่เด็กต้องการ จัดสภาพแวดล้อมและกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับความต้องการเรียนรู้ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม แล้วจึงถอยออกมาปล่อยให้เด็กซึมซับ พัฒนาและเรียนรู้ แล้วปรับสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา เด็กจะมีโอกาสพัฒนาได้อย่างง่ายดายและเต็มศักยภาพของตน

อุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่พัฒนามาจากการสังเกตและความสนใจของเด็ก ครูจึงเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อม และเป็นผู้ร่วมสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ มารยาททางสังคมถูกสอดแทรกไว้ในวิถึชีวิตที่เด็กๆต้องปฏิบัติเป็นกิจวัตร เช่น การรู้จักรอคอย เนื่องจากอุปกรณ์จะมีเพียงอย่างละหนึ่งชุด ดังนั้นกรณีที่เพื่อนกำลังใช้อุปกรณ์อยู่เด็กจะต้องเลือกชิ้นอื่น หรือเรียนรู้ที่จะรอคอยการนำอุปกรณ์ไปเก็บที่เดิมหลังจากใช้งานในสภาพพร้อมใช้สำหรับเด็กคนต่อไปก็เป็นการส่งเสริมทักษะทางสังคมและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น

อิสรภาพและความเป็นตัวของตัวเองของเด็กจะช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจและความมั่นใจในตนเอง ตัดสินใจได้เอง เรียนรู้การแก้ปัญหา มีสมาธิในการทำงาน มีวินัยในตนเอง มีความกระตือรือร้น ใคร่รู้ มีความสุขในการเรียนและรักการเรียน ซึ่งความรู้สึกนี้จะเป็นพื้นฐานและส่งผลถึงอนาคต

III. อุปกรณ์มอนเตสซอรี่

เด็กเล็กๆเรียนรู้จากการเลียนแบบ ครูจะเป็นผู้สาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์ เพื่อให้เด็กรู้ว่าอุปกรณ์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์และสามารถนำมาใช้ได้อย่างไร การสาธิตจะเป็นไปอย่างช้่าๆชัดเจน และเป็นขั้นตอนย่อยอย่างละเอียด ให้เด็กได้มองเห็น ซึมซับแล้วเลียนแบบ จากนั้นเด็กจะสามารถดัดแปลงวิธีการใช้อุปกรณ์ได้หลากหลายวิธีตามความคิดสร้างสรรค์ของเด็กแต่ละคน

(ข้อมูลอ้างอิงจากคลินิกพัฒนาการและการเจริญเติบโต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น)

ภาพในชั้นเรียนโรงเรียนอนุบาลคริสเตียนมารีย์พร

Image

Image

Image

Image

Image

Image

Image

Image

Image

Image

Image

Image

Image

Image

Image

Image

Image

Image

Image

Image

Image

Image

Image